หัวข้อ สงกรานต์ปี 2552 ในมุมมองของประชาชน
                  เทศกาลสงกรานต์ในปีนี้มีวันหยุดติดต่อกันถึง  5  วัน   คาดว่าจะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับ
ภูมิลำเนา และท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ถึงแม้ในปีนี้จะมีข่าวเกี่ยวกับการออกมาตรการเพื่อป้องกันและลดจำนวนอุบัติเหตุ
บนท้องถนนโดยหน่วยงานภาครัฐ แต่หลายฝ่ายก็ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถลดจำนวนอุบัติเหตุที่สร้างความสูญเสียใหญ่หลวง
ทุกปีลงได้    ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “สงกรานต์
ปี 2552 ในมุมมองของประชาชน
”   โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ  18  ปีขึ้นไป  จากทุกสาขาอาชีพในเขต
กรุงเทพมหานคร   รวมทั้งสิ้น 982 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50 และเพศหญิงร้อยละ 50  เมื่อวันที่ 7-8 เมษายน ที่ผ่านมา
สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. เรื่องที่ประชาชนวิตกกังวลมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ คือ

 
ร้อยละ
อุบัติเหตุบนท้องถนน
37.4
การจราจรติดขัด
21.4
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
14.8
ปัญหาการเงิน และค่าใช้จ่าย
11.5
การเล่นสงกรานต์ด้วยความรุนแรง
9.3
ปัญหาโจรผู้ร้าย ปล้น จี้
3.2
อื่นๆ อาทิ ปัญหาคนเมาสุรา และสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นต้น
2.4
 
             2. ความคิดเห็นต่อจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
                 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจำนวนอุบัติเหตุจะเพิ่มขึ้น
43.6
เชื่อว่าจำนวนอุบัติเหตุจะลดลง
39.1
เชื่อว่าจำนวนอุบัติเหตุจะเท่าเดิม
17.3
 
             3. ความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของหน่วยงาน
                 ภาครัฐ

 
ร้อยละ
มั่นใจว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุได้
50.8
ไม่มั่นใจว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุได้
49.2
 
             4. ความเชื่อมั่นต่อมาตรการเพิ่มด่านตรวจในช่วงเทศกาลสงกรานต์โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ
                 ดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนอย่างเข้มงวดจริงจัง

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้
77.4
ไม่เชื่อว่าจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้
22.6
 
             5. วิธีการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ไม่ดื่มสุราขณะขับรถ
67.4
ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
48.8
ไม่นั่ง หรือ ซ้อนท้ายรถที่คนขับเมาสุรา
30.5
หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงการจราจรหนาแน่น
24.4
อื่นๆ อาทิ ไม่ประมาท ไม่ออกจากบ้าน ไม่สาดน้ำใส่รถที่กำลังแล่น
เป็นต้น
3.4
 
             6. พฤติกรรมที่ประชาชนเห็นว่าน่ารังเกียจที่สุดและไม่ควรให้เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ คือ

 
ร้อยละ
การฉวยโอกาสลวนลามทางเพศ
30.6
การเมาสุราแล้วขับรถ
21.6
การแต่งตัวโป๊ / การเต้นยั่วยวน
21.1
การเมาสุราแล้วอาละวาด ก่อความรำคาญ
17.1
การเล่นสงกรานต์ด้วยความรุนแรง
9.1
อื่นๆ อาทิ การปิดถนน เป็นต้น
0.5
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่อไปนี้
                     1. เรื่องที่วิตกกังวลมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
                     2. ตัวเลขจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
                     3. ความมั่นใจในมาตรการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ของหน่วยงานภาครัฐ
                     4. มาตรการเพิ่มด่านตรวจในวันสงกรานต์จะช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้หรือไม่

                     5. วิธีป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์
                     6. พฤติกรรมที่น่ารังเกียจมากที่สุดและไม่ควรให้เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และ
ชั้นใน จำนวน 27 เขต ได้แก่ เขตคลองสาน คลองสามวา จตุจักร ดุสิต ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางซื่อ
บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ ยานนาวา ราชเทวี วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง
สัมพันธวงศ์ สายไหม หนองจอก หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่าง
เป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 982 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50 และเพศหญิงร้อยละ 50
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 7- 8 เมษายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 เมษายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:

ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
491
50.0
             หญิง
491
50.0
รวม
982
100.0
อายุ:
 
 
             18 ปี - 25 ปี
304
31.0
             26 ปี - 35 ปี
244
24.8
             36 ปี - 45 ปี
224
22.8
             46 ปีขึ้นไป
210
21.4
รวม
982
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
498
50.7
             ปริญญาตรี หรือสูงกว่า
437
44.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
47
4.8
รวม
982
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
100
10.2
             พนักงานบริษัทเอกชน
260
26.5
             ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว
228
23.2
             รับจ้างทั่วไป
124
12.6
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
95
9.7
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
175
17.8
รวม
982
100.0
แผนการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์:
 
 
             มีแผนจะเดินทาง
495
50.4
             ไม่มีแผนจะเดินทาง
487
49.6
รวม
982
100.0

 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776